วันจันทร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2553

จีน และอินเดีย ตัวการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศโลก

จีนและ อินเดีย ตัวการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศโลก
จีนและอินเดียสองประเทศยักษ์ใหญ่ทางเศรษฐกิจของเอเชีย ในทศวรรษนี้ยังคงเติบโตอย่างต่อ เนี่อง ค่าแรงราคาถูกและมีคุณภาพทำให้ การพัฒนาด้านอุตสาหกรรมของสองประเทศเป็นไป อย่างรวดเร็ว โรงงานอุตสาหกรรมและโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่หลายแห่ง ได้ถูกสร้างขึ้นเพื่อรองรับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจนี้ มลพิษทางอากาศในรูปของ เขม่าควันและละอองซัลเฟตจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงซึง เป็นผลพลอยจากความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจนี้ ได้ถูกพัดเข้าหามหาสมุทรแปซิฟิก และก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศในวงกว้างได้
Renyi Zhang ศาสตราจารย์ด้านวิทยาศาสตร์บรรยากาศแห่งมหาวิทยาลัย เท็กซัส เอแอนด์เอ็ม กล่าวว่า งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยชิ้นแรกที่เป็นหลักฐานสำคัญพิสูจน์ว่า มลพิษจากมนุษย์มีผลต่อการเคลื่อนตัวของพายุในมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ ที่สำคัญของซีกโลกเหนือในช่วงฤดูหนาว
จากภาพถ่ายผ่านดาวเทียม และคอมพิวเตอร์โมเดล ศาสตราจารย์ Zhang พบว่า ปริมาณ convective cloud (เมฆที่ก่อตัวในแนวตั้ง เช่น เมฆคิวมูลัสหรือเมฆคิวมูโลนิมบัส มักก่อให้เกิดฝน- ผู้แปล) ในชั้นบรรยากาศมีเพิ่มขึ้นถึง 20-50% ในช่วงปี 1994-2005 เมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณที่วัดได้ในปี 1984-1994 ซึ่งมีผลต่อการก่อตัวของพายุในมหาสมุทรแปซิฟิก และเนื่องจากความหลากหลายด้านสภาพอากาศ มหาสมุทรแปซิฟิกตอนเหนือจึงได้รับผลกระทบ จากละอองของเหลวเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในฤดูหนาว ละอองของเหลวเหล่านี้ จะส่งผลต่อลักษณะหยดน้ำและการเปลี่ยนแปลงภายในก้อนเมฆ ซึ่งจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบการก่อตัวของพายุได้ มลพิษเหล่านี้จะถูกพัดสู่ด้านตะวันตกของแคนาดาและสหรัฐฯ ก่อนที่จะเดินทางไปยังส่วนต่างๆของโลกส่งผลต่อสภาพอากาศโลกโดยรวม
เขม่าควันซึ่งในความ เป็นจริงแล้วก็คือคาร์บอนที่เผาไหม้ไม่หมด จะถูกลมพัดพาไปตกรวมกันบนก้อนน้ำแข็งบริเวณขั้วโลก สีดำของคาร์บอนช่วยดูดซับความร้อน จากแสงอาทิตย์มาละลายน้ำแข็งให้เร็วขึ้น ส่งผลให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นในรอบทศวรรษที่ผ่านมา
การเปลี่ยนแปลงเส้น ทาง พายุในมหาสมุทรแปซิฟิกส่งผลกระทบโดยตรงกับสภาพอากาศของโลก นอกจากความเสียหายที่เกิดจากพายุและฝนตกอย่างรุนแรงแล้ว บางพื้นที่ของโลกจะเผชิญกับปัญหาความแห้งแล้งอีกด้วย นอกจากปริมาณพายุที่จะเพิ่มขึ้นแล้ว ระดับความรุนแรงของพายุที่ก่อตัวขึ้นนั้นก็จะมากขึ้นตามไปด้วย
เส้นทางพายุใน มหาสมุทร แปซิฟิกมีความสำคัญอย่างยิ่งกับสภาพอากาศโลก การกระทำของมนุษย์กำลังเป็นตัวการสำคัญ ที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้ง ใหญ่ต่อสภาพอากาศได้
อ้างอิง: http://www.sciencedaily.com/releases/2007/03/070306101319.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น