วันจันทร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2553

เล่นเกมส์เป่ายิ้งฉุบกับหุ่นยนต์เบอร์ตี้ เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้มีการเปิดตัวหุ่นยนต์เบอร์ตี้ที่...


เมื่อต้นสัปดาห์ที่ ผ่านมา ได้มีการเปิดตัวหุ่นยนต์เบอร์ตี้ที่พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ โดยหุ่นยนต์เบอร์ตี้ถูกพัฒนาขึ้นมาเป็นตัวช่วยในการเก็บข้อมูลของนักวิจัยใน การวิเคราะห์ถึงพฤติกรรมหรือปฏิกิริยาตอบรับของมนุษย์ที่มีต่อหุ่นยนต์ใน อนาคต ถ้าหุ่นยนต์มีส่วนสำคัญในการดำรงชีวิตประจำวันมากขึ้น

หุ่นยนต์ เบอร์ตี้ถูกออกแบบและพัฒนาขึ้นมาเพื่อให้สามารถทำกิจกรรมง่ายๆกับคนได้ อย่างเช่นการเล่นเกมส์เป่ายิ้งฉุบกับเด็กๆ หรือการพูดจาตอบโต้กับผู้คน โดยทางทีมผู้พัฒนาวางแผนที่จะทำการพัฒนาหุ่นยนต์คล้ายมนุษย์หรือ Humanoid Robot ที่จะสามารถทำกิจกรรมหรือมีพฤติกรรมที่คล้ายคลึงกับคนในแบบที่เป็นธรรมชาติ มากที่สุดเท่าที่จะเป็นได้


หุ่น ยนต์เบอร์ตี้ ถูกพัฒนาในห้องทดลองในเมืองบริสทอล (Bristol Robotics Laboratory) และชื่อของหุ่นยนต์เบอร์ตี้ก็มีชื่อย่อมาจาก BERTI = Bristol Elumotion Robotic Torso 1 ซึ่งจุดเด่นของหุ่นยนต์เบอร์ตี้ก็คือการใช้งานของแขนได้คล้ายกับการทำงานของ แขนของคน รวมไปถึงส่วนของนิ้วอีกด้วย โดยหุ่นยนต์เบอร์ตี้จะเป็นหุ่นยนต์ตัวต้นแบบในการนำไปพัฒนาอุปกรณ์จำพวกแขน เทียมให้กับคนที่ประสบอุบัติเหตุเกี่ยวกับแขนและไม่สามารถใช้การได้ มากไปกว่านั้นหุ่นยนต์เบอร์ตี้ยังจะสามารถนำไปปรับใช้กับงานที่ค่อนข้างมี ความเสี่ยงเป็นอย่างมากสำหรับคน ดังเช่นงานเหมือง หรืองานที่ต้องมีการสัมผัสกับสิ่งที่เป็นอันตรายต่อคน

หุ่นยนต์ เบอร์ตี้จะอยู่ต้อนรับผู้มาเที่ยวชมพิพิธภัณฑ์เป็นเวลา 1 อาทิตย์ โดยคนจะสามารถเล่นเกมส์เป่ายิ้งฉุบที่แสดงการทำงานของแขนและนิ้วของหุ่นยนต์ ได้อย่างสมบูรณ์แบบนั้นด้วยการสวมใส่ถุงมือที่มีการติดตั้งตัวเซนเซอร์พิเศษ มากไปกว่านั้นหุ่นยนต์เบอร์ตี้จะสามารถพูดคุยด้วยข้อความสั้นๆ และทำการจับมือกับผู้คนได้ จากนั้นผู้คนที่ได้สัมผัสกับหุ่นยนต์เบอร์ตี้จะถูกสอบถามเพื่อทำการเก็บ ข้อมูลเกี่ยวกับการทำงานของหุ่นยนต์เบอร์ตี้โดยจะเน้นทางด้านความเป็น ธรรมชาติของหุ่นยนต์

ราคาของ หุ่นยนต์เบอร์ตี้อยู่ที่ 200,000 ปอนด์ในส่วนของอุปกรณ์ที่นำมาสร้าง แต่ในส่วนของการสร้างนั้นนักวิทยาศาสตร์ผู้พัฒนาระบุว่าไม่สามารถระบุค่าใช้ จ่ายได้ แต่มันก็เป็นการคุ้มค่ากับเวลาที่เสียไปในการสร้างหุ่นยนต์เบอร์ตี้ขึ้นมา


ที่ มา

http://www.physorg.com/news154101898.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น