วันจันทร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2553

หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง "เศรษฐกิจพอเพียง" แนวพระราชดำริซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานแก่พสกนิกร



หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
"เศรษฐกิจ พอเพียง" แนวพระราชดำริซึ่งพระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัวพระราชทานแก่พสกนิกร เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข บนหลักความ "มีเหตุ ผล", "พอประมาณ" และ "มีภูมิคุ้มกัน" ซึ่งมีเป้าหมายให้สังคมไทยสามารถพึ่งพาตนเองได้ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จึงเป็นแนวทางที่สามารถนำไปปรับใช้ได้กับการพัฒนาในทุก ๆ ด้าน รวมทั้งการพัฒนาพลังงานของไทย
หลักของการมีเหตุผล
คงไม่มี ใครปฏิเสธว่าน้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งเป็นแหล่งพลังงานใหญ่ของโลกนับวันมีแต่จะ หมดลง สวนทางกับความต้องการบริโภคน้ำมันที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ การคิดค้นพัฒนาแหล่งพลังงานอื่น ๆ จึงเป็นเรื่องจำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศไทยซึ่งมีแหล่งน้ำมันดิบของตนเองไม่เพียงพอกับความ ต้องการภายในประเทศ ต้องเสียเงินนำเข้าจากต่างประเทศ ในแต่ละปีนับแสนล้านบาท แนวพระราชดำริ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอันเกี่ยวกับการพัฒนาพลังงาน เป็นตัวอย่างของการคิดค้นพัฒนาแหล่งพลังงานอื่น ๆ อย่างมีเหตุผล ดังจะเห็นได้จากเมื่อทรงมีพระราชดำริในเรื่องใด พระองค์ท่านจะทรงมีรับสั่งให้ศึกษาถึงความเป็นไปได้ ผลดีผลเสีย ความเหมาะสม และความต้องการของประชาชนในพื้นที่ก่อนการดำเนินการทุกครั้ง หลักการแห่งความมีเหตุผลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้น ทำให้ทรงมีสายพระเนตรอันยาวไกลไปถึงอนาคตอย่างเช่นเรื่องน้ำมันแก๊สโซฮอล์ เมื่อทรงมีพระราชดำริให้มีการศึกษาวิจัยนั้น น้ำมันราคาถูก แต่เมื่อพิจารณาถึงเหตุผลว่าในอนาคตข้างหน้า น้ำมันมีแต่จะหมดไป ขณะที่คนต้องการใช้น้ำมันเพิ่มมากขึ้น ราคาน้ำมันจึงจะแพงขึ้นเรื่อย ๆ เช่นกัน หาก จะรอให้น้ำมันแพงเสียก่อน ค่อยมาคิดศึกษาวิจัยก็คงไม่ทันต่อความต้องการ จึงมีพระราชดำริให้เริ่มศึกษาตั้งแต่เมื่อยี่สิบกว่าปีก่อนเป็นการศึกษา อย่างต่อเนื่องยาวนาน และเป็นที่ประจักษ์ถึงคุณประโยชน์อเนกอนันต์ของแนวพระราชดำริดังกล่าว
การพัฒนา พลังงานอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น ไบโอดีเซล พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลมที่เกิดขึ้นในสังคมไทย ก็ล้วนเกิดขึ้นบนหลักของความมีเหตุผลนี้เช่นเดียวกัน การดำเนินการของโครงการอันเกี่ยวเนื่องกับการพัฒนาพลังงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกิดขึ้นตามแนวพระราชดำรินั้นล้วนแต่ยึดหลักความพอ ประมาณทั้งสิ้น ซึ่งก็คือความพอดี ไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไป
พระราช ดำริเกี่ยวกับโครงการพัฒนาพลังงานต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นพลังน้ำ เชื้อเพลิงชีวภาพ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม ฯลฯ ไม่ได้เน้นที่ขนาดความใหญ่โตของโครงการ แต่พิจารณาความเหมาะสมและพอเพียงต่อการใช้งานเป็นหลัก แต่ก็ไม่ได้ปฏิเสธโครงการขนาดใหญ่ หากเป็นไปตามความจำเป็นและเพื่อประโยชน์ของคนเป็นจำนวนมาก หลักแห่งความพอประมาณ ช่วยให้การพัฒนาพลังงานในประเทศไทยค่อยเติบโตอย่างมั่นคง นำไปสู่ความยั่งยืนได้ในที่สุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น